นานมาแล้วที่โรงพยาบาลแผนปัจจุบันในต่างประเทศ รู้จักนำหญ้าหนวดแมวมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรคไตควบคู่กับโรคหัวใจได้ ฝรั่งจึงได้ตั้งชื่อหญ้าหนวดแมวว่า “ชาสำหรับโรคไต”
ความจริง หมอแผนไทยและจีนรู้จักใช้หญ้าหนวดแมว รักษาโรคไตมานานแล้ว
แต่เพิ่งจะมาเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2528 โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์วีระสิงห์ เมืองมั่น แห่งภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ได้ค้นคว้าวิจัยนำหญ้าหนวดแมวมาใช้รักษาผู้ป่วยในโรคนิ่วในระบบทางเดิน
ปัสสาวะ เช่น นิ่วในท่อไต และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
ซึ่งเป็นสาเหตุของการปัสสาวะขัด ปัสสาวะกะปริบกะปรอย
การจากทดลองพบว่าหญ้าหนวดแมว มี “เกลือโปแตสเซียม” เป็นสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ขับปัสสาวะและช่วยขยายหลอดไตให้กว้างขึ้น สามารถลดอาการปวดของท่อไต ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วขนาดเท่าเม็ดมะละกอหรือเม็ดถั่วเขียว ชาสมุนไพรตัวนี้จะช่วยขับก้อนนิ่วออกมาได้สบายมากหลังจากดื่มเพียง 3-5 วัน นิ่วก็สามารถหลุดได้แล้ว
ชาสมุนไพรหญ้าหนวดแมว สามารถรักษาโรคนิ่วได้ทั้งนิ่วจากแคลเซียมและนิ่วจากกรดยูริก เนื่องจากสรรพคุณหญ้าหนวดแมว จะขับกรดยูริกอันเป็นสาเหตุของโรคเกาต์ หญ้าหนวดแมวจึงทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง ซึ่งรักษานิ่วจากกรดยูริกซึ่งเป็นนิ่วได้ดีกว่าเพราะชนิดนี้สามารถ สลายได้ดีในด่าง
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ก็มีรายงานการค้นคว้าวิจัยอ้างอิงเกี่ยวกับ สมุนไพรหญ้าหนวดแมว ไว้หลายเรื่องเช่นกัน อาทิ
1. นพ.พิชัย ตั้งสิน และ ภญ.ปริศนา แสงเจษฎา
ได้ศึกษาฤทธิ์ของยาชงหญ้าหนวดแมว ในผู้ป่วยในทางเดินปัสสาวะส่วนบน
เทียบกับไฮโดรคลอไรไธอาไซด์ และโซเดียมไบคาร์บอเนต โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วย 9
คน พบว่ากลุ่มที่
ได้รับยาหญ้าหนวดแมวมีการเคลื่อนตัวของนิ่วบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ
(นิ่วชนิดทึบแสงในทางเดินปัสสาวะ เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1 ซม.)
และใช้ยาแก้ปวดไม่ต่างจากกลุ่มที่ใช้ยามาตรฐาน
ยาชงนี้มีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงเล็กน้อย ชีพจรเต้นเร็วในระยะแรก(วันที่
3) ไม่มีผลต่อปริมาณโปตัสเซียมในเลือด ไม่ทำให้คุณภาพน้ำปัสสาวะเปลี่ยนแปลง
2. รศ.นพ.วีรสิงห์ เมืองมั่น ภาควิชาศัลยกรรม คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ศึกษาในผู้ป่วยนิ่วในท่อไต ขนาดเท่าเม็ดมะละกอ หรือประมาณ 0.5 ซม. จำนวน
23 คน ดื่มยาชงหญ้าหนวดแมว ขนาด 4 กรัม ในน้ำเดือด 750 ซีซี ต่อวัน
เป็นเวลา 2-6 เดือน พบว่า 9 คน (40 %) มีนิ่วหลุดออกมา
(ส่วนใหญ่ที่นิ่วหลุดจะหลุดภายใน 3 เดือน) 13 คน (60 %) หายปวด
แต่นิ่วไม่หลุด
3. รศ.นพ.อมร เปรมกมล ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ได้ทำการศึกษาผลของหญ้าหนวดแมวในการลดขนาดของนิ่วไต
เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ใช้ยา Na-K-Citrate
โดยผู้ป่วยนิ่วที่เข้าร่วมจำนวน 48 คนมีนิ่วในไตขนาดตั้งแต่ 9
มม.ขึ้นไป
โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้ดื่มน้ำชง ชาสมุนไพร หญ้า
หนวดแมว 2.5 กรัม เช้า - เย็น ส่วนกลุ่มที่สอง ได้ยา Na-K-Citrate วันละ 3
ครั้ง (6-10 กรัม) ใช้เวลาในการทดลอง 18 เดือน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม 1 และ
กลุ่ม 2 สามารถลดขนาดนิ่วได้ร้อยละ 28.6 สรุปคือ
หญ้าหนวดแมวมีคุณสมบัติในการลดขนาดนิ่วได้ต่ำกว่าการใช้ยา Na-K-Citrate
เล็กน้อย แต่ไม่พบผลข้างเคียงและราคาถูกกว่า
ข้อควรระวัง : ระวังการใช้ชาสมุนไพร หญ้าหนวดแมวในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไต เนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีโปแตสเซียมสูง
ข้อเสนอแนะ : หากดื่มชาสมุนไพรหญ้าหนวดแมว ในช่วงเย็นแล้วทำให้ ปัสสาวะบ่อยเกินไปในเวลากลางคืน สามารถเปลี่ยนเวลาดื่มชามาเป็นตอนกลางวันได้
Credit : จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 144 ธันวาคม 2555 โดย เก้า มกรา
September 17, 2013
- In: ชาสมุนไพร, โรคไต, โรคนิ่ว, สมุนไพรไทย, หญ้าหนวดแมว, หญ้าหนวดแมวสรรพคุณ
- Posted By: Unknown
- Comments: No comments
Popular Posts
-
ประโยชน์ของ ทุเรียนเทศ (Soursop-Graviola) ผลไม้ชนิดนี้ถูกนำมาวิจัยอย่างจริงจังในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมะเร็งแห่งชาติในสหรัฐอเมริกา พบว่ามันมีคุ...
-
ผงชาเขียวมัทฉะ คือ ผงชาเขียวญี่ปุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Camellia sinensis เพียงแต่ว่า มัทฉะ เป็นผงบดละเอียด ของชาเขียวญี่ปุ่น ที่ได้รับการ...
-
ใบมะละกอ ส่วนใหญ่เราจะรู้จักคุ้นเคย กับลูกมะละกอมากกว่าใบมะละกอ แต่มีนักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้ค้นพบพบสารสกัดจากใบมะละกอมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง ...
-
ชาเขียวมัทฉะ MatCha GreenTea ชาเขียวมัทฉะ MatCha GreenTea คือชาเขียวที่ผลิตจากใบชาเขียวอ่อน ๆ ชาสดๆ ที่ผ่านกรรมวิธีบดด้วย หินตามแบบฉบ...
-
วิธีชงชาดอกไม้ 1. ควรลวกภาชนะ กาชาหรือแก้วชา ที่ใช้ชงชาด้วยน้ำร้อนทิ้งไปก่อน 1 รอบ 2. ใส่ชาดอกไม้ 5-10 g. หรือ 1/3 ของภาชนะชงชา ลวกชาด้วยน้ำ...
0 comments:
Post a Comment