October 22, 2013

สมุนไพรคืออะไร มาทำความรู้จักพืชธรรมชาติในแง่มุมที่คุณเองอาจจะไม่เคยทราบมาก่อน

สมุนไพร คือ ของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้กับมวลมนุษยชาติ มนุษย์เรารู้จักใช้สมุนไพรในด้านการบำบัดรักษาโรค นับแต่ยุค "นีแอนเดอร์ทัล" (Neanderthal) หรือเมื่อราว 250,000 ปีมาแล้ว !!
คำว่า "สมุนไพร" ตามพระราชบัญญัติหมายความถึง ยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้มีการผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังคงเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใดๆ เช่น การหั่น การบด การกลั่น การสกัดแยก รวมทั้งการผสมกับสารอื่นๆ

แต่ ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่างๆ เช่น ถูกหั่นเป็นชิ้นเล็กลง บดให้เป็นผง อัดให้เป็นแท่ง หรือปอกเปลือกออก เป็นต้น เมื่อพูดถึงสมุนไพร คนทั่วๆ ไปมักจะนึกถึงเฉพาะพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ในทางยา ทั้งนี้เพราะสมุนไพรที่ได้จาก สัตว์และแร่มีการใช้น้อย และจะใช้เฉพาะในโรคบางชนิดเท่านั้น

หากจะสืบสาวถึงความเป็นมาของเครื่องดื่มสมุนไพร ก็มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล มีน้ำชนิดหนึ่งเรียกว่า “อัชบาล” หรือ "น้ำปานะ" ซึ่งพระสงฆ์สามารถฉันน้ำชนิดนี้ได้ตลอดทั้งวันแทนการขบเคี้ยวอาหารหลังมื้อเพลตามบัญญัติของพุทธศาสนา น้ำปานะนี้ใช้สมุนไพร หรือ พืชผลชนิดที่มีความเผ็ดร้อน เช่น ขิง ข่า กระทือ ตะไคร้ เป็นต้น ต้มในน้ำร้อนและผสมน้ำตาลทรายแดงให้พอมีรสปะแล่มๆ  ซึ่งต่อมานิยมดื่มกันแพร่หลายมาถึงฆราวาสด้วย
ประโยชน์ของสมุนไพร คืออะไร


ประโยชน์ของสมุนไพร คือ
          1. ใช้เป็นยาบำบัดรักษาโรค
          2. ใช้เป็นอาหาร
          3. ใช้เป็นเครื่องสำอางค์
          4. ใช้เป็นอาหารเสริมบำรุงร่างกาย
          5. ใช้ขับสารพิษ
          6. ใช้เป็นเครื่องดื่ม
          7. ช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ


ประวัติการใช้สมุนไพร ในประเทศไทย
ประเทศ ไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญงอกงามของพืชนานาชนิด โดยเฉพาะพืชสมุนไพรมีอยู่มากมายเป็นแสนๆ ชนิด ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการเพาะปลูก บางชนิดก็ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาแผนปัจจุบัน สมุนไพรหลายชนิด ถูกนำมาใช้ในรูปของยากลางบ้าน ยาแผนโบราณ รากฐานของวิชาสมุนไพรไทยได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดียเป็นส่วนใหญ่


ชีวิต ความเป็นอยู่ของคนไทยนั้น สิ่งหนึ่งที่แสดงออกมาได้เป็นอย่างดีก็คือ ศิลปะที่ผสมผสานและผูกพันอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยนั่นเอง ที่โดดเด่นอย่างหนึ่งคือการทำอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพรที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวมี การผสมผสานวัฒนธรรมเข้ากับศิปะการทำอาหารไว้อย่างลงตัวถือว่าเป็นเอกลักษณ์ และยังเป็นการแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของชาติได้เป็นอย่างดี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เครื่องดื่มสมุนไพรของไทยนั้นจะแฝงไว้ด้วย เจตนารมณ์ให้ผู้ดื่มได้ซึมซับทั้งรสชาติและคุณประโยชน์ไปพร้อมๆ  กันอย่างชาญฉลาดนั้นเอง


กันต์โตะ ชาสมุนไพร ชาดอกไม้ เชียงใหม่
www.chiangmaitea.com
www.chiangmaiteashop.com

Read more…

October 16, 2013

ชาที่นิยมใช้ในธุรกิจร้านกาแฟ (Coffee Shop)

ชาที่มีลักษณะชนิดผงสำหรับร้านกาแฟ (Coffee Shop) ที่นิยมใช้กันจะมีอยู่หลากหลายชนิด

ชาที่นิยมใช้ในธุรกิจร้านกาแฟ (Coffee Shop) - กันต์โตะ ชาสมุนไพร เชียงใหม่

ชาอู่หลง - ชาเขียว (ชาจีน) สีน้ำชาเหลืองอำพัน ชงจิบเป็นชาเพื่อสุขภาพ สามารถชงผสมกับ ชาสมุนไพร หรือชาดอกไม้ต่างๆได้
ชาดอกไม้ ให้กลิ่นหอมละมุน บางที่ก็เลือกที่จะใช้ชาแต่งรส แต่งกลิ่น เช่น ชาเขียวมะลิ ชาพีช ชาดาร์จีลิ่ง ชาเอิร์ลเกรย์ ฯลฯ
(ซึ่งชาประเภทนี้อาจจะอยู่ในลักษณะถุงชา (Teabags) หรือแบบใบชา (Loose Tea) ก็ได้
บางที่เสริฟคู่กับกาแฟ ไว้ดื่มตบท้ายกาแฟตามภาษาที่เรียกกันว่าดื่มชาล้างคอครับ)

ชาเขียวมัทฉะญี่ปุ่น สูตร 100%
ชาเขียวมัทฉะ สูตรดั่งเดิม (ผสม)
ชาเขียวมัทฉะ สูตรหวาน (สมูตตี้)
ชาเขียวมัทฉะ เลมอนไอซ์ที (ชงน้ำเย็นได้)

** สามารถชงกับน้ำร้อนแล้วดื่มได้เลย หรือ นำไปปรุงแต่ง นม ครีม น้ำผึ้ง ไซรัป วิปปิ้งได้ง **
(สามารถนำไปทำเป็นเมนูเย็นได้ เมนูชาเขียวสไตล์ร้านกาแฟ Coffee Shop แบบเมนูชาเขียวในร้าน แบล็คแคนยอน เป็นต้น)

ชาเขียว 3 in 1 (น้ำสีเขียว)
ชาไทย 3 in 1 (น้ำสีส้ม)
โกโก้ 3 in 1 (น้ำสีน้ำตาลช็อคโกเล็ต)

** เป็นชาปรุงสำเร็จรูปชงได้ง่าย สามารถชงกับน้ำร้อนแล้วดื่มได้เลย หรือจะนำไปทำเป็นเมนูเย็นต่อก็ยังได้ **

ผงชาซีลอน (น้ำชาสีส้ม ทำชานมไข่มุกได้ ชงแบบชาโบราณ)
ผงชาไทย ชาโบราณ (น้ำชาสีส้ม ชงแบบชาโบราณ)
ผงชาเขียวไทย ชาโบราณ (น้ำชาสีเขียว ชงแบบชาโบราณ)

(การ ชงแบบชาโบราณ ต้องชงกับถุงกรองใบชาหรือในกาชาแยกต่างหากเพื่อกรองเอาแต่น้ำชา หลังชงต้องกรองแยกเอากากใบชาบดออกก่อน คล้ายการชงชาโบราณครับ หรืออาจจะชงใส่ก้านอัดเครื่องกาแฟได้ครับ)

ลองเลือกดูว่าชาชนิดไหนที่เหมาะกับธุรกิจร้านกาแฟของคุณ ขอให้ค้าขายเจริญรุ่งเรืองกันถ้วนหน้านะครับผม
กันต์โตะ ชาสมุนไพร เชียงใหม่
www.chiangmaiteashop.com

Read more…

Popular Posts