นอกจากใบชาแล้วนั้น ยังมีการนำสมุนไพรหลายชนิด เช่น. สมุนไพรไทย นำมาชงในลักษณะของชาสมุนไพร ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือเป็นชาที่ไร้ซึ่งคาเฟอีน ส่วนคุณประโยชน์ก็หลากหลายตามชนิดและประเภทของชานั้น มาดูกันว่าชาสมุนไพร หรือชาสมุนไพรไทย แต่ละชนิดมีจุดเด่น สรรพคุณ ชาสมุนไพร ยังไงบ้าง
1. ชาใบเตย สำหรับสรรพคุณของชาใบเตย ได้แก่บำรุงหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ชาใบเตย ทำจากใบเตยหอม อบแห้ง บดเป็นผง มี สีเขียวใบเตย มีกลิ่นหอมชื่นใจใบเตยมีคุณสมบัติหลักๆ ขับปัสสาวะ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ชาใบเตยจึงเหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง คนธรรมดาทั่วไปก็ดื่มได้กลิ่นหอมของใบเตยชื่นใจ คลายเครียดได้ดี เป็น Aroma therapy อีกรูปแบบหนึ่ง
2. ชามะตูม สรรพคุณตามตำราคือ บางตำราบอกเพิ่มสมรถภาพทางเพศ บำรุงสุขภาพ ทำจากผลมะตูมแก่ บดเป็นผง ให้น้ำชาสีแดงออกน้ำตาล มีกลิ่นหอมหวานชวนดื่ม ส่วนใหญ่จะแต่งรสด้วยน้ำตาล เพื่อให้ได้รสชาติที่ดีขึ้น มะตูมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำรุงธาตุ แก้ร้อนใน เป็นยาอายุวัฒนะ
3. ชาขิง จริงๆจะเรียกว่าน้ำขิงก็ไม่ผิดอะไรนัก แก้หวัด และช่วยย่อยอาหาร ทำจากเหง้าขิงแก่ ที่มีน้ำมันหอมระเหย มีสรรพคุณทางร้อน ช่วยบรรเทาหวัด แก้คลื่นไส้อาเจียน เมารถเมาเรือ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืด
4. ชาใบฝรั่ง คุณสมบัติหลักคือดับกลิ่น ฆ่าเชื้อ ทำจากใบฝรั่งไทยอบให้แห้ง บดเป็นผง มีกลิ่นหอมชวนดื่ม มีคุณสมบัติดับกลิ่นปาก ฆ่าเชื้อในปากและคอ เหมาะที่จะรับประทานหลังอาหาร สามารถที่จะใช้ชาใบฝรั่งระงับอาการท้องเสีย (ในรายที่ไม่มีไข้) แต่ต้องชงอย่างเข้มข้นกว่าปกติ
5. ชาหญ้าหนวดแมว สรรพคุณหลักคือขับปัสสาวะ ตอนนี้คนรู้จักพืชชนิดนี้มากขึ้น สำหรับชานี้ทำจากหญ้าหนวดแมวอบแห้งบด มีรสคล้าย ๆ ใบชา มีคุณสมบัติขับปัสสาวะ ขับนิ่วก้อนเล็ก ๆ มีคุณสมบัติขับกรดยูริค เหมาะกับคนที่เป็นต่อมลูกหมากโต คนที่เป็นนิ่วก้อนเล็ก ๆ ชวยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน มีโปรแตสเสียมสูง ระวังการใช้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ
6. ชาตะไคร้ สามารถช่วยขับลม ทำจากต้นและใบตะไคร้อบให้แห้งแล้วบด ตะไคร้จะมีกลิ่นหอม ช่วยย่อยชาตะไคร้อาหาร แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดเกร็งในท้อง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะและมีรายงานการทดลองพบว่า ตะไคร้นั้นมีคุณสมบัติต้านมะเร็งได้อีกด้วย
7. ชาชุมเห็ดเทศ มีคุณสมบัติเป็นยาระบายท้อง ได้จากใบชุมเห็ดเทศคั่วให้แห้ง แล้วบดเป็นผง ให้น้ำชาเป็นสีน้ำตาลมีกลิ่นหอมของใบไม้คั่ว มีสรรพคุณเป็นยาระบาย แต่หากดื่มเป็นประจำร่างกายก็อาจดื้อยาได้ ควรหาวิธีอืนในการสร้างนิสัยการถ่ายให้เป็นประจำโดยวิธีอื่นด้วย
8. ชาดอกคำฝอย ลดไขมันในเลือด สามารถหาซื้อได้ทั่วไป โดยทำจากดอกคำฝอย ลักษณะสีของชา มีสีแดงชวนดื่ม กลิ่นหอมชื่นใจ มีคุณสมบัติลดไขมันในเส้นเลือด ขับเหงื่อ เป็นยาระบายอ่อน ๆ บำรุงเลือดสตรี ขับระดู ระงับอาการปวดในสตรีที่รอบเดือนไม่ปกติ
9. ชารางจืด สามรถกำจัดพิษ และล้างสารพิษ ทำจากใบรางจืดอบแห้งมีกลิ่นใบไม้แห้ง หอมอ่อนๆ เป็นธรรมชาติ ให้น้ำชาสีน้ำตาลออกเขียว มีสรรพคุณกำจัดพิษ แก้เมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ และลดความร้อนในร่างกาย เหมาะกับเมืองไทยในขณะนี้ ที่ร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ชารางจืดไม่มีพิษดื่มเป็นประจำได้ทุกวัน
10. ชากระเจี๊ยบ สามารถช่วยขับปัสสาวะไขมันในเลือด ได้มาจากดอกของกระเจี๊ยบแดง มีคุณสมบัติในการลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตสูง แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอชื่นใจ ชากระเจี๊ยบมีสีแดง รสเปรี้ยวมักเติมน้ำตาลเพื่อแต่งรส
ชา สมุนไพร แต่ละชนิดมีจุดเด่นด้าน สรรพคุณชา แตกต่างกันตามแต่เราเลือกใช้ให้ตรงกับคุณประโยชน์นั้นก็จะสามารถช่วยให้เราได้มีสุขภาพที่ดีได้ด้วยธรรมชาติแล้วคะ
ขอบคุณข้อมุล: เว็บไซต์มหาลัยนเรศวร
กันต์โตะ ชาสมุนไพร เชียงใหม่
0 comments:
Post a Comment